วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

อิทธิพลตะวันตกด้านที่อยู่อาศัย

การสร้างบ้านของคนไทยตั้งแต่ในอดีตนั้นนิยมสร้างบ้านให้อยู่ติดกับแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อสะดวกแก่การเดินทางและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในด้านอื่นๆ ลักษณะของบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากและยังช่วยถ่ายเทอากาศได้สะดวก เมื่อลูกหลานในบ้านมีครอบครัวมีสมาชิกเพิ่มขึ้น ก็จะปลูกบ้านให้อยู่ในบริเวณเดียวกันและยังมีการต่อเติมโดยขยายออกจากเรือนหลังเดิมอีกด้วย บ้านของคนไทยจึงเป็นลักษณะนี้มาอย่างช้านาน แต่เมื่ออิทธิพลของชาวตะวันตกแพร่เข้ามาในประเทศไทยอย่างมากในช่วงสมัยรัชกาลที่สี่ บ้านทรงไทยแบบเดิมได้พัฒนาไปแบบตะวันตกมากขึ้นโดยเริ่มมีบ้านที่สร้างด้วยอิฐและปูนมากขึ้น แต่ก็ยังมีรูปแบบของไทยอยู่ผสมผสานกัน ในสมัยรัชการที่ห้าการสร้างบ้านหลังคาทรงปั้นหยามีให้เห็นมากขึ้นตัวบ้านยังยกพื้นอยู่แต่ไม่สูงเหมือนก่อน สมัยรัชกาลที่หกคนไทยนิยมสร้างบ้านแบบตะวันตกตามแบบของบ้านวิตอเรียของประเทศอังกฤษโดยมีการตกแต่งด้วยลายฉลุ มีการเล่นรูปทรงหกหรือแปดเหลี่ยมแต่ต่อมาก็ได้ลดความหรูหราลงมาบ้างเพราะปัญหาเศรฐกิจ ในสมัยรัชกาลที่แปดคนไทยเริ่มนิยมปลูกบ้านสองชั้นไม่มีใต้ถุนมีหน้าต่างบานเกร็ดแต่ยังใช้ไม้ในการปลูกอยู่จนมาถึงปัจจุบัน ไม้ลดความนิยมลงเพราะมีราคาแพงคนไทยจึงนิยมปลูกบ้านด้วยคอนกรีตเพราะมีความแข็งแรงทนทานรูปทรงก็เป็นแบบบ้านสมัยใหม่เป็นแบบจากชาวตะวันตกและไม่นิยมปลูกบ้านใกล้แหล่งน้ำแต่เปลี่ยนมาปลูกบ้านติดถนนแทน ในปัจจุบันที่ดินมีราคาสูงขึ้นจึงนิยมสร้างตึกสูงที่ใช้พื้นที่ไม่กว้างแต่สามารถจุผู้อยู่อาศัยได้มากกว่าบ้านแบบเดิมที่เน้นขยายออกด้านกว้าง และยังมีอาคารต่างๆมากมายที่เราพบเห็นได้ทุกที่ล้วนแต่เป็นอิทธิพลจากตะวันตกแทบทั้งสิ้น บ้านทรงไทยที่มีคนอาศัยอยู่จริงๆก็มีให้เห็นน้อยมาก การสร้างอาคารบ้านเรือนแบบชาวตะวันตกจึงมีอิทธิพลกับคนไทยมากอย่างที่เราสามารถเห็นได้ในปัจจุบัน

(อ้างอิงจาก http://lms.thaicyberu.go.th)

2 ความคิดเห็น: