วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเทศเยอรมันนี


เยอรมันนีประเทศอภิมหาอำนาจประเทศหนึ่งของโลก มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันยาวนาน มีความเข้มแข็งทั้งด้านการทหารและเศรษฐกิจ เยอรมันนียังมีความก้าวหน้าด้านนวตกรรม วิศกรรม สถาปัตยกรรมเป็นอันดับต้นๆของโลก ชนชาติเยอรมันเดิมทีชาวโรมเรียกว่าพวกป่าเถื่อน รูปร่างสูงใหญ่ ผมสีทองตนัยตาเป็นสีฟ้า เป็นชนเผ่าที่ทำงานหนัก หลังจากที่กองทัพโรมันพ่ายแพ้สงครามแกเผ่าเยอรมัน  ชนเผ่าเยอรมันก็ได้กระจายอยู่ตามชายแดนของโรมัน ต่อมาชาวฮั่นจากเอเชีย(พวกมองโกล)ได้บุกรุกรานชนเผ่าเยอรมันทำให้ชาวเยอรมันต้องอพยพหนีไปอยู่ที่จักวรรดิโรมัน ผู้นำเยอรมันเผ่าหนึ่งบุกรุกกรุงโรมและขับไล่จักรพรรดิของโรมออกไปในค.ศ.476 อาณาจักรโรมันจึงล่มสลาย

เมื่อเผ่าลอมบาร์ดซึ่งเป็นชนชาติเยอรมันได้บุกอิตาลีพระสันตะปาปาขอให้พระเข้าชาเลอร์มาญ(กษัตริย์พวกแฟรงค์)ช่วยขับไล่เผ่าลอมบาร์ดออกไป เมื่อขับไล่ได้แล้วจึงสวมมงกุฏให้พระเจ้าชาเรอมาญและแต่งตั้งให้เป็นจักพรรดิโรมันจึงเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรวรรดิของพระเจ้าชาเรอมาญแบ่งออกเป็นสามส่วน อาณาจักรแฟรงค์ด่านตะวันออกได้กลายเป็นประเทศเยอรมันนีในปัจจุบัน

อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไม่ค่อยมีบทบาทอะไรต่อยุโรปมากนัก ใสนช่วงศตวรรษที่16อาณาจักรอื่นเช่น สเปน ฝรั่งเศษ โปรตุเกส อังกฤษ ได้มีการรวมตัวกันเป็นประเทศและออกสำรวจทะเลสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศเหล่านี้ แต่ชนชาติเยอรมันยังคงล้าหลังอยู่ยังไม่มีการรวมประเทศ รัฐต่างๆแย่งชิงอำนาจกันเองดินแดนของชนชาติเยอรมันจึงยากจนกว่าชาวยุโรปชาติอื่นๆ

การปฏิรูปศาสนาของมาร์ติน ลูเธอร์ใน ค.ศ.1517 ทำให้เกิดความแตกแยกด้านการเมืองและศาสนาในยุโรป จักพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในขณะนั้นนับถือนิกายคาทอลิกบรรดาเจ้าครองนครต่างๆทางเหนือที่ต้องการจะแยกตัวเป็นอิสระอยู่แล้วได้ประกาศตัวเป็นโปรเตสแตท์ จึงทำให้เกิดสงคราของชนชาติเยอรมันรบกันเองในอาณาจักรเป็นเวลานานถึง 30 ปี รีฐทางใต้อยู่ใต้อำนาจเดิมส่วนรัฐทางเหนือเกิดรัฐอำนาจขึ้นใหม่คือปรัสเซีย

ช่วงศตวรรษที่ 18 พระเจ้าฟริดริชมหาราชผู้นำของปรสเซียแย่งชิงแคว้นซิลิเซียที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุของออสเตรียของจักพรรดินีมาเรียเทเรซาชาติต่างๆในยุโรปเห็นว่าปรัสเซียเริ่มมีอำนาจขึ้นทุกวันและเกรงว่าจะเป็นภัยจึงรวมตัวกันก่อสงครามขึ้นในยุโรปอีกครั้งคือสงคราม 7 ปี

สงคราม 7 ปี มีการแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศษ สวีเดน รัสเซีย ซึ่งล้วนเป็นชาติมหาอำนาจในยุโรปทั้งสิ้น อีกฝ่ายคือ ปรสเซียและอังกฤษที่เป็นเจ้าของแคว้นฮันโนเวอร์ในเยอรมันนี แต่เมื่อเริ่มสงครามอังกฤษไม่ได้ส่งทหารเข้ามาช่วยรบ ปรัสเซียจึงต้องรบกับชาติมหาอำนาจเพียงลำพัง เมื่อปรัสเซียใกล้แพ้ก็บังเอิญว่าจักพรรดินีของรัสเซียสิ้นพระชน พระเจ้าซาร์องค์ใหม่ที่ชื่นชอบปรัสเซียอยู่แล้วจึงถอนตัวจากสงคราม ปรัสเซียมีกำลังใจมากขึ้นและทำสงครามต่อจนได้รับชัยชนะ ปรัสเซียจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นชาติมหาอำนาจใหม่ในยุโรป

นโปเลียน โบนาร์ปาตทำปราบดาภิเษกตนเองขึ้นมาเป็นจักพรรดิของอาณาจักรฝรั่งเศษและเริ่มทำสงครามรุกรานประเทศทั่วยุโรปและได้ล้มล้างจักวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แคว้นต่างๆบางส่วนรวมตัวกันเป็นอาณาจักรไรน์ส่วนจักพรรดิของโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กสละมงกุฎจักพรรดิ์แห่งเยอรมันและดำรงตำแหน่งเพียงจักพรรดิของออสเตรีย ส่วนปรัสเซียก็พ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศษทำให้เยอรมันนีตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศษ

สงครามที่นโปเลียนก็ขึ้นได้ใช้ชาวเยอรมันเป็นทหารในการรบเป็นส่วนมากทำให้มีชาวเยอรมันตายไปเป็นจำนวนหลายแสนคนทำให้ชาวเยอรมันเกลียดชังฝ รั่งเศษเป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1814 ชาติพันธมิตรในยุโรปรวมทั้งปรัสเซียและออสเตรียได้รวมกันปราบนโปเลียนจนสำเร็จ

เมื่อปี ค.ศ.1848 มีการประชุมกันของกลุ่มนักศึกษาที่วิหารเพลา มีการพยายามเสนอแนวคิดในการรวมชาติเยอรมัน และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับวิหารเพลา แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ต่อมาการรวมชาติเริ่มเป็นจริงมากขึ้นเมื่อออตโต้ บิสมาร์กได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของแคว้นปรัสเซีย บิสมาร์กนำนโยบายการรวมชาติเยอรมันอันโด่งดังเรียกว่านโยบายเลือดและเหล็กซึ่งหมายความว่าเยอรมันจะรวมชาติกันได้เมื่อปรัสเซียพัฒนาอุสาหกรรมและทำสงครามไปสู่การรวมชาติ โดยเริ่มจากการจัดตั้งสหพันธรัฐเยอรมันเหนือซึ่งอยู่ใต้การปกครองของปรัสเซียผูกมิตรทางการฑูตกับรัสเซียทำให้ปราศจากศัตรูทางตะวันออก ยุยงให้ฝรั่งเศษผิดใจกันเรื่องล่าอาณานิคมแล้วจึงผูกมิตรกับอังกฤษทำให้ปราศจากศัตรูทางเหนือ เมื่อการฑูตพร้อมสมบูรณ์แล้วเยอรมันจึงก่อสงครามเพื่อรวมชาติ โดยเริ่มจากเดนมาร์กและต่อมาก็ทำสงครามกับออสเตรียซึ่งเดิมเป็นผู้นำของรัฐเยอรมันมาก่อนจนปรัสเซียได้รับชัยชนะ ครั้งสุดท้ายคือการรบกับฝรั่งเศษซึ่งปรัสเซียเอาชนะฝรั่งเศษอย่างง่ายดายและยังจับจักพรรดินโปเลียนที่3ไว้ได้จนฝรั่งเศษต้องไถ่ตัวและปลดจักพรรดินโปเลียนที่3ออกจากบัลลัง บิสมาร์กสถาปนาอาณาจักรเยอรมันที่2 โดยมีจักรพรรดิวิลเฮล์มที่1 เป็นจักพรรดิของอาณาจักร โดยสถาปนาอาณาจักรเยอรมันบนแผ่นดินฝรั่งเศสที่ห้องกระจกของพระราชวังแวซายส์เกิดเป็นรัฐเยอรมันสมัยใหม่ขึ้น

จักวรรดิเยอรมันรุ่งเรืองมากทั้งด้านเศรษฐกิจและการทหารเป็นมหาอำนาจทัดเทียมกับจักวรรอังกฤษ
ต่อมาจักวรรดิออสเตรีและฮังการีมีปัญหากับเซอร์เบียจึงเกิดสงคราขึ้น เยอรมันเข้าร่วมสงครามกับออสเตรียและฮังการีภายใต้ชื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางรบกับเซอร์เบียที่มีอังกฤษและฝรั่งเศษชื่อว่าฝ่ายสัมพันธมิตร ช่วงแรกฝ่ายมหาอำนาจกลางได้เปรียบในสงครามมากแต่ต่อมาเมื่ออเมริกาเข้าเร่วมสงครามออสเตรียและฮังการีประกาศยอมแพ้ จักวรรดิเยอรมันต้องรบเพียงลำพังจึงทำให้แพ้สงครามในที่สุดและเป็นจุดจบของอาณาจรรดิเยอรมัน


เมื่อเยอรมันแพ้สงครามฝ่ายสัมพันธมิตรได้เขียนรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่และตั้งเรียกเยอรมันว่าอาณาจักรรดิไวร์มา ความอ่อนแอของอาณาจักรไวมาร์ที่ถูกสัมพันธมิตรกดขี่การชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมหาศาลและมาตการอื่นๆที่ทำให้เกิดความอึกอัดแก่เยอรมันนีอย่างมาก สถานการเกิดความวุ่นวายความยากจนและปัญหาการตกงานเป็นเหตุให้ฮิตเลอร์และพรรคนาซีสถาปนาตนเองขึ้นปกครองเยอรมันนีและเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่2


ฮิตเลอร์เริ่มสะสมอาวุธและขยายกองทัพพร้อมยังสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจสังคมและอุดมการณ์แก่ประชาชนและประเทศเยอรมันนี และประกาศสงครามโลกครั้งที่2โดยฝ่ายเยอรมันนี อิตาลีรัสเซียและญี่ปุ่นเป็นหลักโดยเรียกกันว่าฝ่ายอักษะ ส่วนอีกฝ่ายคืออังกฤษอเมริกาฝรั่งเศษเรียกกันว่าฝ่ายสัมพันธมิตร โดยในตอนแรกเริ่มของสงครามฝ่ายอักษะได้เปรียบในการรบสารถเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรได้อย่างราบคาบฮิตเลอร์จึงสถาปนาเยอรมันีเป็นอาณาจักรไรซ์ที่3 แต่ช่วงหลังของสงครามรัสเซียหันไปเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและภาวะสงครามที่ยืดเยื้อทำให้เยอรมันนีอ่อนแอลงจนเป็นเหตุให้แพ้สงครามแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร และเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรไรซ์ที่3

เมื่อแพ้สงคราโลกครั้งที่สองเยอรมันนีถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยส่วนตะวันตกเป็นของสัมพันธมิตรปกครองระบอบประชาธิปไตยส่วนด้านตะวันตกเป็นของสหภาพโวเวียตปกครองระบอบคอมมิวนิสต์โดยระยะแรกชาวเยอรมันนีตะวันออกและตะวันตกยังไปมาหาสู่กันได้ตามปกติแต่เพราะช่วงหลังเกิดขวามแตกต่างกันในระบอบการปกครองชาวเยอรมันนีตะวันออกจึงอพยพย้ายมาฝั่งตะวันตกมากขึ้นเป็นเหตุให้รัฐบาลเยอรมันนีตะวันออกเริ่มสร้างกำแพงกั้นระหว่างเยอรมันนีทั้งสองโดยกำแพงนี้มีชื่อว่ากำแพงเบอลินอันโด่งดัง วัตถุประสงค์ของกำแพงนี้สร้างขึ้นเพื่อไม่ให้ประชาชนเยอรมันนีตะวันออกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์อพยพไปอยู่เยอรมันนีตะวันตก

ศูนย์กลางการปกครองของเยอรมันนีตะวันออกและตะวันตกนั้นอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน รัฐบาลเยอรมันนีตะวันออกสั่งสร้างกำแพงปิดล้อมกรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตกจึงเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น ต่อมาใน ค.ศ.1989ประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียตได้เปลี่ยนการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในเยอรมันนีตะวันออกสร้างความกดดันให้เรัฐบาลเป็นอย่างมากและเริ่มมีการทำลายกำแพงเบอร์ลินบางส่วนตั้งแต่วันที่ 9 พศษจิกายน 1989ซึ่งถือว่าเป็นการรวมชาติเยอรมันนีอีกครั้ง


หลังการรวมชาติเยอรมันนีอีกครั้งประเทศเยอรมันนีก็เริ่มไม่เข้าไปยุ่งกับความขัดแย้งทางการทหารของประเทศอื่นมากนัก ประเทศเยอรมันนีฟื้นตัวและกลายมาเป็นประเทศผู้นำในสหภาพยุโรปร่วมกับฝรั่งเศษ

ปัจจุบันเยอรมันนีเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในสหภาพยุโรปมี GDP เป็นอันดับสี่ของโลกรองจาก อเมริกา จีน ญี่ปุ่น และมีอัตราการส่งออกเป็นอันดับสามของโลกรองจาก อเมริกาและจีน
เยอรมันนีมีบริษัทรถยนต์ชั้นนำของโลกคือ เมซีเดสเบ้น บีเอ็มดับเบิ้ลยูและออดี้ มีตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของโลก ผลิตภัณฑ์ส่งออกส่วนใหญ่ของเยอรมันนีอยู่ในด้านวิศวกรรมโดยเฉพาะด้านยานยนต์


ประชากร             
เยอรมันมีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับสองรองจากรัสเซีย ในจำนวนนี้ 7.3 ล้านคน เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานอพยพมาจากตุรกี ยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มเข้ามาตั้งแต่ช่วงหลัง ค.ศ.1960 ซึ่งนับมาถึงปัจจุบันก็เป็นรุ่นที่ 2 และ 3 แล้ว

สภาพสังคม
คนเยอรมันนับถือในเกียรติของความเป็นมนุษย์ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเยอรมันไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดก็ตามสามารถเรียกร้องสิทธิพื้นฐานตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทรัพย์สิน และเสรีภาพทางหนังสือพิมพ์ การเผยแพร่ข่าวของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จะทำได้โดยไม่มีการเซ็นเซอร์จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เยอรมันเป็นสังคมเปิด กล่าวคือ ยอมรับผู้คนซึ่งอพยพเข้ามาหาที่หลบภัยและผู้อพยพหนีสงคราม การให้มีการเปิดเสรีสำหรับผู้ใช้แรงงาน การเป็นกลุ่มผู้นำ ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการประกอบอาชีพและเลือกถิ่นที่อยู่ภายในสหภาพยุโรป

ดินแดน
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประกอบด้วย 16 รัฐ คือ บาเดน-เวือร์เทมแบร์ก บาวาเรีย เบอร์ลิน บรันเดนบวร์ก เบรเมน ฮัมบวร์ก เฮลเซน นีเดอร์ซัคเซน เมคเคลนบวร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น นอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลน ไรน์ลันฟัลส์ ซาร์ลันด์ ซัคเซน ซัคเซน-อันฮัลท์ ชเลสวิก-โฮลชไตน์ และเธือริงเงน แต่ละรัฐมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง โดยสภาผู้แทนแห่งรัฐมาจากการได้รับเลือกตั้งของสมาชิกพรรคต่างๆ ในรัฐนั้นๆ และสามารถออกกฎหมายใช้เองภายในรัฐได้ เช่น ระบบการศึกษารวมถึงระดับอุดมศึกษาอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของแต่ละรัฐ

ภาษา
ชาวเยอรมันสืบเชื้อสายมาจากเผ่าพันธุ์เยอรมันดั้งเดิมหลายเผ่า เช่น เผ่าซัคเซน และบาวาเรียน ซึ่งปัจจุบันเราจะไม่เห็นความแตกต่างนี้แล้ว แต่ยังมีคนเยอรมันบางกลุ่มที่ยังรักษาขนบธรรมเนียมและพูดภาษาเผ่าดั้งเดิมของตน โดยใช้เป็นภาษาถิ่นต่างๆ กันไป การหลั่งไหลเข้ามาของชาวต่างชาติก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเยอรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองใหญ่ๆ

ศาสนา        
ชาวเยอรมันกว่า 55 ล้านคนนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่างๆ โดยมีนิกายโปแตสแตนท์ มีผู้นับถือประมาณ 27.6 ล้านคน นิกายโรมันคาทอลิก 27.5 ล้านคน เยอรมันไม่มีศาสนาประจำชาติ การมีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน ทำให้มีชุมชนที่นับถือศาสนาอื่นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาอิสลาม ซึ่งมีผู้นับถือศาสนาอิสลามในเยอรมันประมาณ 2.6 ล้านคน จาก 41 ชาติทั่วโลก นอกจากนั้นก็มีผู้นับถือศาสนายิว ฮินดู และพุทธ          
การเมือง
เยอรมันเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรปและการออกเงินตราของสหภาพยุโรป และเป็นสมาชิกขององค์กรนาโต้ (NATO) ในปี ค.ศ. 1990 เยอรมันตะวันออกซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน และปกครองแบบสังคมนิยมได้รวมประเทศเข้ากับเยอรมันตะวันตกกลายเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันในปัจจุบัน  


สถานที่ท่องเที่ยว

กำแพงเบอร์ลิน สร้างขึ้นโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ปกครองเยอรมันตะวันออกเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2504 เพื่อกั้นดินแดนเยอรมันตะวันตกและตะวันออกออกจากกัน ทำหน้าที่ปิดกั้นพรมแดนเป็นเวลา28ปี ถือเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น ก่อนจะถูกทุบทิ้งและเหลือไว้เป็นอณุสรสถานบางส่วน ตั้งอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน กำแพงเบอร์ลินมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์เยอรมันและประวัติศาสตร์โลก การทุบกำแพงเบอร์ลินหมายถึงการเปิดเสรีภาพให้กับโลกและปลดปล่อยโลกจากภาวะสงครามเย็น


อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะ สร้างขึ้นสมัยปรัสเซียเพื่อเป็นอณุสรณ์ของการต่อต้านพวกเดนมาร์กในปี1864 ออสเตรียในปี1866 และฝรั่งเศษในปี1870-71 เป็นเสาสูงประมาณ 69 เมตร  ออกแบบก่อสร้างโดย J.H.Strack  ระหว่าง ค.ศ.1865-73 แต่ชาวเบอร์ลินมักจะเรียกสถานที่นี้ว่า Golde Else หรือ Victoria แห่งเบอร์ลิน  บนยอดเสาคือรูปปั้นของวิคตอเรีย (Victoria)เทพีแห่งชัยชนะ ถือพวงมาลัยจากใบมะกอก (สัญลักษณ์ของชัยชนะ) กับหอก  รูปปั้นนี้หนัก 35 ตัน สูง 8 เมตร มีบันได 285 ขั้น  สามารถเดินขึ้นไปชมวิวด้านบนได้  บริเวณนี้ทั้งหมดเรียกว่า Grosser Stern แปลว่าดาวดวงใหญ่ เพราะมีถนนห้าสายใหญ่มาบรรจบกันที่อนุสาวรีย์นี้ ถ้ามองจากข้างบนลงมาจึงดูคล้ายรัศมีของดาวที่เป็นแฉก นอกจากนี้บริเวณนี้ยังใช้เป็นที่จัดงาน Loveparadeหรือ Techno-Party อีกด้วย


ประตูบรานเดนบวร์ก เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเบอร์ลินเพราะเป็นประตูเมืองเก่า ได้รับการก่อสร้างระหว่าง ค.ศ.1788-91 ตามศิลปะแบบโรมัน  โดยฝีมือ C.G.Langhans ตั้งอยู่ที่ Pariser Platz และถนน Unter den Linden  สถานที่แห่งนี้ถือเป็นเครื่องหมายแห่งความสงบสุข  และมีความสำคัญโดยเป็นจุดแบ่งกรุงเบอร์ลินออกเป็นสองส่วนคือตะวันออกและตะวันตก ด้านบนมีรูปปั้นชื่อ Quadrigaสูง 5เมตร มีราชินีแห่งชัยชนะ (Siegesgoettin Viktoria)ควบขับรถเทียมม้า 4 ตัว มุ่งหน้าไปทางฝั่งตะวันออกของเบอร์ลิน  ในมือถืออิสริยาภรณ์กางเขนเหล็กกับพวงมาลัยใบมะกอกและ นกอินทรีซึ่งเป็นสัตว์ที่แสดงอำนาจของยุคปรัสเซียร์ (Preussen/Prussia)

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

10อันดับภาพวาดราคาแพงที่สุดในโลกล่าสุด

10อันดับภาพวาดราคาแพงที่สุดในโลก ข้อมูลล่าสุดวันที่ 29 มกราคม 2556


1. The Card Players (1892-93), Paul Cezanne – $259 million



2. No. 5, 1948 (1948), Jackson Pollock – $140 million


3. Woman III (1953), Willem de Kooning – $137.5 million




4. Portrait of Adele Bloch-Bauer I (1907), Gustav Klimt – $135 million

5. The Scream (1895), Edvard Munch – $119.9 million


6. Nude, Green Leaves and Bust (1932), Pablo Picasso – $106.5 million

7. Garcon a la Pipe (1905), Pablo Picasso – $104.2 million


8. Eight Elvises (1963), Andy Warhol – $100 million

9. Dora Maar au Chat (1941), Pablo Picasso – $95.2 million


10. Portrait of Adele Bloch-Bauer II (1912), Gustav Klimt – $87.9 million


อ้างอิงข้อมูลจาก:The Top 10 Most Expensive Paintings in the World

ภาพ The Starry Night ของแวนโก๊ะ และภาพอื่นๆที่สื่อความหมายคล้ายคลึงกัน




วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

กำเนิดกีฬาโอลิมปิก


ในบันทึกของชาวกรีกในปี776ก่อคริสต์ศักราชได้ปรากฏการจัดการแข่งขันกีฬาของชาวกรีกขึ้นที่เมืองโอลิมเปียบริเวณเขาโอลิมปัส ในตำนานชาวกรีกเพโลคือผู้ก่อตั้งกีฬาโอลิมปิกขึ้น นอกจากนี้เมืองโอลิมเปียยังถูกใช้เป็นที่ประชุมเป็นศูนย์กลางศานสนาอีกด้วย 

โอลิมปิกเกมมีความเกี่ยวข้องด้านศาสนาของเทพเจ้าซุสการจัดโอลิมปิกในสมัยกรีกนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงคุณสมบัติทางกายภาพของนักกีฬาและเป็นการเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่างๆของกรีก 

ผู้ที่ชนะในกีฬาโอลิมปิกสมัยกรีกจะได่รับกิ่งของต้นปาล์มและสวมริบบิ้นแดงที่หัวและได้รับการชูมือเพื่อแสดงถึงชัยชนะจากนั้นในวันสุดท้ายของการแข่งขันจะมีการมอบรางวัลอย่างเป็นทางการอีกครั้งที่บริเวณวิหารของซุสซึ่งจะมีการประกาศชื่อผู้ชนะชื่อของพ่อและบ้านเกิดของผู้ชนะด้วยและมีการสวมมงกุฎช่อมะกอกซึ่งถือเป็นต้นไม้ศักสิทธ์บนศรีษะของผู้ชนะอีกด้วยซึ่งทำเนียมนี้ยังใช้ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน

ชาวกรีกได้มีการจัดกีฬาโอลิมปิกมาอย่างต่อเนื่องยาวนานจนกระทั่งถึงปีคศ.393จักรพรรดิแห่งโรมันได้สั่งห้ามเพราะกีฬาโอลิมปิกของชาวกรีกถือเป็นลัทธิทางศาสนา แต่ก็ได้มีการลื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน

กีฬามาราธอน

กีฬามาราธอนนั้นมีจุดเริ่มต้นที่อาณาจักรกรีกในปี490ก่อนคริสต์ศักราช โดยได้มีการบันทึกโดยนายฮีโรโดโทสเอาไว้ว่า ฟิลิปิเดสได้วิ่งเป็นระยะทาง200กิโลเมตรโดยใช้เวลาสองวันจากเมืองมาราธอนไปที่เมืองเอเธน เพื่อส่งข่าวเกี่ยวกับสงครามที่กองทัพชาวกรีกมีชัยชนะเหนือชาวเปอร์เซียผู่รุกรานและนายฟิลิปิเดสก็ได้สิ้นใจหลังจากแจ้งข่าวนี้ให้ชาวเอเธนทราบ จากบันทึกนี้เองเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดกีฬามาราธอนที่ได้รับความนิยมจากนานาชาติและมีการบันจุการแข่งขันกีฬามาราธอนเข้าไปในกีฬาโอลิมปิกปี1896เป็นครั้งแรก ผู้ที่ชะการแข่งขันก็เป็นชาวกรีกที่ชื่อว่าซิปริดอน ลูอิส




วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

สมัยใหม่และหลังสมัยใหม่

Modernคือยุคสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่คริสศตวรรษที่15เป็นต้นมา ผู้คนในยุโรปเริ่มตื่นตัวที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆสิ่งที่เป็นความจริงตามหลักสากลไม่ได้ยึดติดหรือเคร่งกับความเชื่อของพระเจ้า จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ในคริสศตวรรษที่17เกิดการค้นคว้าเรื่องต่างๆด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ชาวยุโรปในยุคนี้เชื่อในเรื่องของเหตุผลและความจริงมีความเชื่อว่าทุกสิ่งที่สร้างขึ้นต้องพัฒนาเพื่อความทันสมัย ความคิดแบบนี้เรียกว่าModernism มีการศึกษาค้นคว้าทดลองและพัฒนาเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆทำให้ชาวยุโรปในยุคนั้นเป็นชนชาติที่เจริญก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในโลก ในยุคนี้ชาวตะวันตกมีความเชื่อว่าโลกกลมและมีเทคโนโลยีการเดินเรือที่ทันสมัยจึงมีการเดินเรือออกแสวงหาดินแดนใหม่ๆทำแผนที่และการติดต่อค้าค้ายกับชาติอื่นเพื่อความมั่งคั่ง วัฒนธรรมจากตะวันตกก็ได้เผยแพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆและเกิดการล่าอาณานิคมในเวลาต่อมา

PostmodernคือยุคสมัยหลังจากยุคModern เกิดขึ้นเพราะผลจากการล่าอาณานิคมและคนได้รับการศึกษาจากชาติตะวันตกมากขึ้นเป็นองค์ประกอบสำคัญ ยุคนี้ความคิดของคนเปลี่ยนไป ไม่เน้นเรื่องความจริงหรือเเหตุผล แต่มีความคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้ถูกกำหนดจากผู้ที่เจริญกว่า ทุกวัฒนธรรมบนโลกมีเหตุผลของตัวเองเหมาะสมกับความเป็นอยู่รูปแบบบ้านเมืงของคนในวัฒนธรรมนั้นๆและคิดว่าวัฒนธรรมของชาวตะวันตกเอาเปรียบริดรอนสิทธิเสรีภาพของวัฒนธรรมอื่นเพราะชาวตะวันตกในยุคModernคิดว่าวัฒนธรรมของตนเองดีที่สุด ความคิดของคนในยุคPostmodernจึงเน้นที่อิสระภาพและเสรีภาพ มีการยำเอาสิ่งต่างๆมาผสมผสานกันวัฒนธรรมต่างๆจึงอยู่รวมกันได้โดยมีการปรับประยุกค์ให้เหมาะแก่สังคมในแต่ละที่ ความคิดของคนยุคนี้เรียกว่าPostmodernism

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

อิทธิพลตะวันตกด้านที่อยู่อาศัย

การสร้างบ้านของคนไทยตั้งแต่ในอดีตนั้นนิยมสร้างบ้านให้อยู่ติดกับแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อสะดวกแก่การเดินทางและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในด้านอื่นๆ ลักษณะของบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากและยังช่วยถ่ายเทอากาศได้สะดวก เมื่อลูกหลานในบ้านมีครอบครัวมีสมาชิกเพิ่มขึ้น ก็จะปลูกบ้านให้อยู่ในบริเวณเดียวกันและยังมีการต่อเติมโดยขยายออกจากเรือนหลังเดิมอีกด้วย บ้านของคนไทยจึงเป็นลักษณะนี้มาอย่างช้านาน แต่เมื่ออิทธิพลของชาวตะวันตกแพร่เข้ามาในประเทศไทยอย่างมากในช่วงสมัยรัชกาลที่สี่ บ้านทรงไทยแบบเดิมได้พัฒนาไปแบบตะวันตกมากขึ้นโดยเริ่มมีบ้านที่สร้างด้วยอิฐและปูนมากขึ้น แต่ก็ยังมีรูปแบบของไทยอยู่ผสมผสานกัน ในสมัยรัชการที่ห้าการสร้างบ้านหลังคาทรงปั้นหยามีให้เห็นมากขึ้นตัวบ้านยังยกพื้นอยู่แต่ไม่สูงเหมือนก่อน สมัยรัชกาลที่หกคนไทยนิยมสร้างบ้านแบบตะวันตกตามแบบของบ้านวิตอเรียของประเทศอังกฤษโดยมีการตกแต่งด้วยลายฉลุ มีการเล่นรูปทรงหกหรือแปดเหลี่ยมแต่ต่อมาก็ได้ลดความหรูหราลงมาบ้างเพราะปัญหาเศรฐกิจ ในสมัยรัชกาลที่แปดคนไทยเริ่มนิยมปลูกบ้านสองชั้นไม่มีใต้ถุนมีหน้าต่างบานเกร็ดแต่ยังใช้ไม้ในการปลูกอยู่จนมาถึงปัจจุบัน ไม้ลดความนิยมลงเพราะมีราคาแพงคนไทยจึงนิยมปลูกบ้านด้วยคอนกรีตเพราะมีความแข็งแรงทนทานรูปทรงก็เป็นแบบบ้านสมัยใหม่เป็นแบบจากชาวตะวันตกและไม่นิยมปลูกบ้านใกล้แหล่งน้ำแต่เปลี่ยนมาปลูกบ้านติดถนนแทน ในปัจจุบันที่ดินมีราคาสูงขึ้นจึงนิยมสร้างตึกสูงที่ใช้พื้นที่ไม่กว้างแต่สามารถจุผู้อยู่อาศัยได้มากกว่าบ้านแบบเดิมที่เน้นขยายออกด้านกว้าง และยังมีอาคารต่างๆมากมายที่เราพบเห็นได้ทุกที่ล้วนแต่เป็นอิทธิพลจากตะวันตกแทบทั้งสิ้น บ้านทรงไทยที่มีคนอาศัยอยู่จริงๆก็มีให้เห็นน้อยมาก การสร้างอาคารบ้านเรือนแบบชาวตะวันตกจึงมีอิทธิพลกับคนไทยมากอย่างที่เราสามารถเห็นได้ในปัจจุบัน

(อ้างอิงจาก http://lms.thaicyberu.go.th)